ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในหลายด้านของชีวิตประจำวัน หนึ่งในนั้นคือกระบวนการหางานและการสมัครงาน รายงานแนวโน้มตลาดปี2025 จากบริษัทจัดหางานCareer Group Companies ระบุว่า ประมาณ65% ของผู้สมัครงานใช้AI ในหลายขั้นตอนของกระบวนการสมัครงาน ได้แก่19% ใช้AI ในการเขียนประวัติย่อ (resume)20% ใช้ในการเขียนจดหมายสมัครงาน9% ใช้ในการสร้างภาพถ่ายโปรไฟล์7% ใช้ในการฝึกสัมภาษณ์5% ใช้ในการสร้างตัวอย่างผลงาน5% ใช้ในการให้คำแนะนำด้านอาชีพนายจ้างตั้งข้อสงสัย การใช้AI ช่วยสมัครงานผิดจริยธรรมไหม?จิลเลียน ลอว์เรนซ์ (Jillian Lawrence) รองประธานอาวุโสของCareer Group Companies เปิดเผยมุมมองกับCNBC Make It ว่า เธอได้เห็นการใช้งานAI พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา และคิดว่าวัยทำงานยุคนี้กำลังมองหาใช้วิธีการสมัครงานที่ชาญฉลาดขึ้น ไม่น่าแปลกใจเลยถ้าพวกเขาจะสนใจหรือลองใช้AI มาช่วยในขั้นตอนการสมัครงานอย่างไรก็ตาม การใช้AI ในกระบวนการสมัครงานยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่ามันเหมาะสมหรือไม่ จากการศึกษาของZety ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านอาชีพและการหางาน (เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว) ชี้ว่า42% ของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลมองว่า การใช้AI ในกระบวนการสมัครงานเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมทางจริยธรรม ความกังวลเหล่านี้เพิ่มขึ้นเมื่อAI ถูกนำมาใช้ในการประเมินทักษะของผู้สมัครงาน โดยมากกว่าสองในสามของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้AI ในด้านนี้จัสมิน เอสคาเลรา (Jasmine Escalera) ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพจากZety สะท้อนความเห็นว่า ความกังวลเหล่านี้มีเหตุผล "หากคุณใช้มันเพื่อเสริมทักษะของคุณหรือแสดงทักษะที่คุณไม่มีจริง ๆ นั่นเป็นปัญหา โดยพื้นฐานแล้วหากคุณใช้เอไอเพื่อแสดงทักษะนั้น มันก็แปลว่าคุณอาจไม่สามารถทำงานนั้นได้จริงๆ"เปิดคำแนะนำการใช้AIที่ดีที่สุดสำหรับผู้สมัครงานหากผู้สมัครงานใช้ AI มาช่วยเขียนเรซูเม่หรือจดหมายสมัครงานต่างๆ ก็ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้AI สร้างขึ้น ผู้สมัครควรใช้เวลาในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกอย่างที่AI สร้างขึ้นนั้น เป็นข้อมูลของผู้สมัครจริงๆ ที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับทักษะและความสามารถของผู้สมัครเนื่องจากAI อาจสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเกินจริงได้"AI อาจสร้างข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อนและไม่ถูกต้องเสมอไป สิ่งใดที่ไม่เป็นความจริง ผู้สมัครงานจะต้องแก้ไขใหม่ รวมถึงตรวจทานเนื้อหาในใบสมัครซ้ำหลายๆ รอบเพื่อความถูกต้องครบถ้วนที่สุด"คำแนะนำนี้สอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอย่าง เจเรมี ชิเฟลิง (Jeremy Schifeling) ผู้เขียนหนังสือ "Career Coach GPT" ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการใช้ AI ในกระบวนการหางาน เขาแนะนำให้ผู้สมัคร "ตรวจสอบ ตรวจสอบ และตรวจสอบ" ทุกอย่างที่พวกเขาใช้ AI สร้างขึ้น"สิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการคือการนั่งอยู่ในการสัมภาษณ์รอบสุดท้ายแล้วถูกถามเกี่ยวกับประวัติย่อที่ AI สร้างขึ้นแบบผิดๆ และคุณตอบไม่ได้ (เพราะลืมตรวจทานข้อมูล) จนอาจทำให้อับอายในระหว่างสัทภาษณ์"นอกจากนี้ เอสคาเลราให้คำแนะนำอีกว่า ควรใช้AI เพื่อช่วยปรับแต่งใบสมัครให้ตรงกับคำอธิบายลักษณะงาน เพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจง่ายขึ้น และอาจรวมถึงการใช้AI ช่วยคัดกรองศัพท์เทคนิคเฉพาะของสายงานนั้นๆหรือใช้มันช่วยการตรวจสอบไวยากรณ์ ฯลฯ แต่นอกเหนือจากนั้นคุณควรเขียนจดหมายสมัครงานและเรซูเม่ด้วยตัวเอง"ตัวคุณคือพื้นฐาน และAI เข้ามาเพื่อเสริมพื้นฐานที่คุณมีให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ไม่ใช่ว่าใช้มันเพื่อทำงานให้คุณทั้งหมดทุกอย่าง"ขณะที่ ลอว์เรนซ์เตือนให้วัยทำงานคนรุ่นใหม่ระวังการอัปโหลดข้อมูลส่วนบุคคลเข้าสู่โปรแกรม AI เพราะมันอาจถูกใช้เกินวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ โดยเฉพาะอาจเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวได้สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนสำหรับทั้งลอว์เรนซ์และเอสคาเลราคือ ปรากฏการณ์นี้เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองคนมองว่าการใช้AI ในกระบวนการสมัครงานจะยังคงแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทุกคนจะใช้AI ทำเรื่องนี้กันอย่างปกติ แต่สิ่งสำคัญคือต้องหาวิธีใช้มันให้ผลลัพธ์ใบสมัครงานออกมาดีที่สุด ไม่ใช่ใช้มันทำแทนทั้งหมดทุกขั้นตอนที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1169965
อ่านเพิ่มเติมภูมิทัศน์ของการทำงานกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งขับเคลื่อนโดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และพลวัตทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรับรู้ถึงFuture of Workหรือ อนาคตของการทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อม และทำความเข้าใจแนวโน้มต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น8 future of work trends 2025 1.หมั่นพัฒนาทักษะและเรียนรู้เรื่องใหม่เนื่องจากAI เข้ามามีบทบาทอย่างมากในด้านการทำงานในปัจจุบัน ทำให้เรื่องการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น องค์กรที่สามารถสร้างภาพลักษณ์เรื่อง การให้โอกาสในการเรียนรู้ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพในฐานะตัวบุคคล การสร้างLifelong learning mindset จะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างResilience ในอาชีพ และเปิดโอกาสให้ตนเองอย่างต่อเนื่อง 2.ทำงาน4วันต่อสัปดาห์ –สร้างWork productivityและสมดุลชีวิต93%ของพนักงานที่อยู่ในโครงการทดลองทำงาน4วันต่อสัปด์ ต้องการให้เปลี่ยนเป็นรูปแบบนี้ถาวรและที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนรูปแบบมาทำงานแบบ4วันต่อสัปดาห์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการเดินทางถึง50%การออกนโยบายให้ทำงาน 4วันต่อสัปดาห์ หรือการท้าทายรูปแบบการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ทำงาน5วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นโครงการที่องค์กรชั้นนำหลาย ๆ ที่ได้ลองนำมาใช้แล้วเห็นผลในทางเดียวกันว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และทำให้ความเครียดของพนักงานลดลง 3.Gig Economy 2.0 –สร้างเส้นทางอาชีพ และโอกาสใหม่ในการทำงานGig economy หรือ การจ้างงานแบบครั้งคราว ตามสัญญาที่ตกลงไว้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสร้างประโยชน์ทั้งฝั่งนายจ้าง และลูกจ้าง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีหน้า และ สามารถดึงดูดเหล่าTalent ได้จากการเปิดโอกาสให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจในเนื้องานเอง ความยืดหยุ่น และความอิสระในการทำงาน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นเรื่อย ๆ 4.ความร่วมมือระหว่างHuman & Machine –ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานขึ้นบทบาทของ AI ในโลกธุรกิจมีอิทธิพลขึ้นมาก ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือแทนที่งานบางอย่าง อีกทั้งปลดล็อคโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ที่สร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนอนาคตAI สามารถเพิ่มHuman Capability และเป็นคู่หูในการระดมความคิดสร้างสรรค์ได้ ทำให้ควรเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการนำAI มาใช้งาน เพื่อยกระดับผลงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น เรียนรู้การป้อนคำสั่ง หรือเครื่องมือAI ที่เหมาะกับงานแต่ละแบบ เป็นต้น 5.ผู้นำแบบHuman-Centric –จากแจกแจงงานเพียงอย่างเดียว สู่การพัฒนาTalentและ Teamผู้นำที่จะเป็นที่ต้องการ คือ ผู้นำที่สามารถสร้างConnection รู้แนวทางการให้คำปรึกษาทางอาชีพ และสร้างทีมที่เหนียวแน่นกลมกล่อม ขับเคลื่อนผลงานในองค์กรได้บทบาทของผู้นำแบบHuman-Centric จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเรื่อง ความเห็นอกเห็นใจ การอำนวยความสะดวกในการทำงาน และมุ่งเน้นพัฒนาพนักงาน 6.สร้างความImmersive–ในการทำงานออนไลน์ในปี2568 การผสมผสานเทคโนโลยี VR และAR ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ ตั้งแต่การประชุม ไปจนถึงการฝึกอบรมพนักงาน การทำกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นทีม เป็นต้น ทำให้เรื่องWork-Focused Platform ยังคงอยู่ เพื่อสนับสนุนการทำงานระยะไกล และผสมผสานประโยชน์ของการโต้ตอบแบบตัวต่อตัวทางดิจิทัล 7.บทบาทที่เพิ่มขึ้นของAI–ในงานด้านทรัพยากรบุคคลหรือHuman Resourceการบูรณาการ AI กับเรื่องHR กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ หรือบางอย่างอาจเพิ่มคุณภาพได้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องRecruitment, Performance Management, Employee Engagement, Talent Development เป็นต้นอีกทั้ง ในระหว่างที่AI จัดการงานที่อาศัยความซ้ำซ้อน มีรูปแบบที่ชัดเจน คนHR ก็สามารถใช้เวลาในเรื่องเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ทำให้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนทิศทางหลักขององค์กร และเตรียมความพร้อมของทรัพยากรปัจจุบันและอนาคต 8.การให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน –จะกลายเป็นNew NormalการทำงานในรูปแบบHybrid กลายเป็น ‘Default’ ในSkilled Roleทำให้พนักงานสามารถจัดสรรเวลาในการทำงาน และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระมากขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามช่วงเวลาที่ตนเองสามารถดึงศักยภาพสูงสุดออกมาได้แนวโน้มทั้ง8 ข้อด้านบน เป็นเพียงการคาดการณ์จากสถานการณ์ทางธุรกิจ และเทรนด์ในปัจจุบัน สำหรับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ปี2025 นอกจากนี้ จึงขอต่อยอดเกี่ยวกับSkill หรือ ทักษะ ที่สำคัญในปี2025มีFuture Skillทั้งหมด5ทักษะ ที่ควรจับตามอง และพัฒนาให้พร้อมสู่ปี2025ที่กำลังจะถึงนี้ความรู้ด้านดิจิตอลและความเชี่ยวชาญด้านข้อมูลเนื่องจากอุตสาหกรรมทุกแห่งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล พนักงานที่สามารถทำงานในแพลตฟอร์มดิจิตอลและมีความสามารถในการทำงานกับข้อมูลจะเป็นที่ต้องการขององค์กร เพราะDigital Literacyจะไม่ใช่โบนัสอีกต่อไป แต่จะเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนต้องรู้อีกทั้งองค์กรต้องการพนักงานที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์อ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด การเงิน หรือการดำเนินงานมีความคิดสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรมในปัจจุบัน AI เข้ามามีบทบาทอย่างมากในโลกธุรกิจ ทำให้เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ และคิดเชิงนวัตกรรมในการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ จะเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากAI ได้ องค์กรจะมองหาคนที่สามารถริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ และใช้ต่อยอดเชิงธุรกิจได้ เช่น ในด้านการตลาด การออกแบบ หรือเรื่องเชิงกลยุทธ์ เป็นต้นมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือEmotional Intelligence (EI)เมื่อรูปแบบการทำงานเป็นรูปแบบHybrid และกระจายตัวมากขึ้นEmotional Intelligence จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานร่วมกันและการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพการเปิดใจเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และพร้อมปรับตัวอย่างต่อเนื่องCapability ของคนในปัจจุบันสามารถล้าสมัยได้อย่างรวดเร็วจากการมีบทบาทของ Technology ทำให้การมีLifelong Learning Mindset จำเป็นอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ และยังคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้ล้มแล้วลุกไว และเรียนรู้จากประสบการณ์แรงกดดันของการทำงานสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกหลังการระบาด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความยืดหยุ่นและสุขภาพจิตที่มา: https://pwg.co.th/
อ่านเพิ่มเติมจากการวิจัยล่าสุดและบทวิเคราะห์เชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญ ได้ระบุ “ทักษะ”8 อย่างที่เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญของผู้นำในอนาคต เครื่องมือเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้พวกเขายืนหยัดต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลง แต่ยังช่วยปลดล็อกศักยภาพใหม่ ๆ ให้กับทีมงานและองค์กรได้อีกด้วย1. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence - EI)ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญ ความฉลาดทางอารมณ์ยังคงเป็นทักษะจำเป็นที่สุดสำหรับผู้นำ โรงเรียนธุรกิจSwiss School of Business and Management (SSBM) ระบุว่าผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงสามารถสร้างความไว้วางใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดี และช่วยรักษาขวัญกำลังใจของทีมได้2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)ปัจจุบันองค์กรเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือแรงกดดันทางตลาดPeople Development Magazine ชี้ให้เห็นว่าทักษะในการจัดการการเปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งในทักษะที่ผู้นำต้องการมากที่สุด โดยผลสำรวจจากPeople Development Magazine พบว่าองค์กรที่มีผู้นำที่เชี่ยวชาญด้านนี้จะสามารถปรับตัวต่อกระแสการดิสรัป (Disruption)ได้ดีกว่า และจะยังคงรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรง3. ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Literacy)การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่ผู้นำขาดไม่ได้ AIHR ระบุว่าผู้นำจำเป็นต้องเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เป็นต้น การมีความรู้ด้านเทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ควรเข้าใจว่ามันส่งผลต่อธุรกิจอย่างไรและจะสามารถนำไปใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร AIHR ยังชี้ให้เห็นว่าผู้นำที่มีความรู้เรื่องดิจิทัล สามารถสร้างความมั่นใจให้กับทีมและทำให้องค์กรอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบทางการแข่งขันอีกด้วย4. ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Resilience and Adaptability)สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ผู้นำต้องแสดงความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวHarvard Business School ระบุว่าคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับรับมือกับความผันผวน ผู้นำที่มีความยืดหยุ่นจะรักษาความนิ่งในสถานการณ์ที่กดดัน ขณะที่ผู้นำที่ปรับตัวได้ดีจะสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใหม่ ๆ ได้5. ความเป็นผู้นำที่เน้นการมีส่วนร่วม (Inclusive Leadership)ความหลากหลายและการสร้างวัฒนธรรมมีส่วนร่วม (Inclusive culture) จะไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกอีกต่อไป แต่กลายเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยของExecOnline ชี้ให้เห็นว่าผู้นำที่เน้นการมีส่วนร่วมจะเปิดรับมุมมองที่หลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า6. วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Vision)ความสามารถในการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสร้างแรงบันดาลใจ ถือเป็นจุดเด่นของความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ จากงานวิจัยของLeadership Topics ชี้ให้เห็นว่าทักษะนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนระยะยาว การกำหนดเป้าหมายขององค์กร และการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต7. การสอนและการพัฒนา (Coaching and Development)การลงทุนในพนักงานไม่ใช่เพียงแค่ทางเลือก แต่กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำในยุคนี้People Development Magazine เน้นย้ำว่าผู้นำที่ใช้แนวทางการบริหารแบบโค้ชจะสามารถสนับสนุนการเติบโตของทีมงานทั้งในด้านอาชีพการงานและชีวิตส่วนตัวได้ ผลการศึกษาของPeople Development Magazine ชี้ให้เห็นว่าผู้นำที่ช่วยเหลือพนักงานผ่านการให้คำแนะนำ การชี้แนะ และการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จะสร้างทีมที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อองค์กรโดยรวม8. การสื่อสารและการเล่าเรื่อง (Communication & Storytelling)งานวิจัยจากINSEAD ในปี2024 ชี้ให้เห็นว่า แม้เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่มนุษย์ก็ยังต้องเป็นผู้ควบคุม ดูแล และใช้งานมันอยู่ดี ผู้นำที่มีทักษะการสื่อสารและการเล่าเรื่องที่ดีเท่านั้น จึงจะสามารถนำพาทีมงานและองค์กรให้ปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพดังนั้น การเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จสำหรับปี2025 จึงต้องอาศัยทักษะที่หลากหลาย เพื่อรับมือกับความท้าทายของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/health/labour/1170142
อ่านเพิ่มเติม